การปรับที่นั่งด้านหน้า
ไปข้างหน้าและข้างหลัง (ที่นั่งคนขับ)

การขยับที่นั่งไปข้างหน้าและข้างหลัง:
-
ดึงก้านปรับเลื่อนเบาะที่นั่งใต้ขอบด้านหน้าของเบาะที่นั่งขึ้นและกดค้างไว้
-
เลื่อนที่นั่งไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
-
ปล่อยคันโยกและทำให้แน่ใจว่าที่นั่งล็อกเข้าที่แล้ว
ปรับที่นั่งก่อนขับขี่ และทำให้แน่ใจว่าที่นั่งล็อกอย่างแน่นหนาแล้วด้วยการลองขยับที่นั่งไปข้างหน้าและข้างหลังโดยไม่ใช้ก้านปรับ หากที่นั่งขยับเขยื้อน แสดงว่ายังไม่ล็อกอย่างเหมาะสม
มุมพนักพิง (ถ้ามี)

การปรับพนักพิง:
-
เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วยกก้านปรับเอนพนักพิงที่ติดตั้งอยู่ด้านนอกของที่นั่งทางด้านหลัง
-
เอนตัวไปข้างหลังบนที่นั่งอย่างระมัดระวังและปรับพนักพิงไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการ
-
ปล่อยคันโยกและทำให้แน่ใจว่าพนักพิงล็อกเข้าที่แล้ว (คันโยก ต้อง กลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อให้พนักพิงล็อกได้)

การขับขี่หรือโดยสารรถที่มีพนักพิงเบาะหน้าเอนได้ อาจนำไปสู่การบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากที่นั่งด้านหน้าเอนในขณะเกิดอุบัติเหตุ ช่วงสะโพกของผู้โดยสารอาจเลื่อนไปที่ใต้ส่วนพาดตักของเข็มขัดนิรภัย ทำให้เกิดแรงกระแทกมหาศาลต่อช่วงท้องหรือคอที่ไม่มีการป้องกันได้ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บภายในร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้ ปรับพนักพิงให้อยู่ในตำแหน่งตั้งตรงและนั่งสบายทุกครั้งที่รถเคลื่อนที่
ส่วนพยุงหลัง (สำหรับที่นั่งผู้ขับขี่ ถ้ามี)

ส่วนพยุงหลังสามารถปรับได้ด้วยการกดสวิตช์ส่วนพยุงหลังที่ด้านข้างของที่นั่ง
-
กดส่วนหน้าของสวิตช์เพื่อเพิ่มระดับการพยุง หรือกดส่วนหลังของสวิตช์เพื่อลดระดับการพยุง
-
ปล่อยสวิตช์เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ
พนักพิงศีรษะ (สำหรับที่นั่งด้านหน้า)
การปรับความสูงขึ้นและลง

พนักพิงศีรษะไม่เพียงให้ความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารเท่านั้น แต่ยังช่วยปกป้องศีรษะและลำคอในกรณีที่เกิดการชนกระแทกอีกด้วย
หากต้องการปรับพนักพิงศีรษะให้สูงขึ้น ให้ดึงขึ้นจนถึงตำแหน่งที่ต้องการ (1)
หากต้องการลดระดับพนักพิงศีรษะ กดปุ่มปล่อย (2) บนส่วนรองรับพนักพิงศีรษะค้างไว้ แล้วลดระดับพนักพิงศีรษะจนถึงตำแหน่งที่ต้องการ (3)
เพื่อการปกป้องที่ดีที่สุด ให้ปรับพนักพิงศีรษะโดยจัดให้ตรงกลางของพนักอยู่สูงเท่ากับระดับหูของคุณ

-
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พนักพิงศีรษะควรปรับให้ส่วนกลางของพนักอยู่ในความสูงระดับเดียวของศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของศีรษะผู้นั่ง โดยปกติแล้ว ศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของศีรษะคนส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับความสูงของด้านบนสุดของดวงตา รวมถึงควรปรับพนักพิงศีรษะให้ใกล้กับศีรษะคุณให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แนะนำให้ใช้เบาะรองที่ทำให้ร่างกายอยู่ห่างจากพนักพิง
-
ห้ามขับรถในขณะที่ถอดพนักพิงศีรษะออก ผู้โดยสารอาจได้รับบาดเจ็บสาหัสในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พนักพิงศีรษะช่วยปกป้องไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่ลำคอได้เมื่อปรับอย่างเหมาะสม
-
อย่าปรับตำแหน่งพนักพิงศีรษะของที่นั่งผู้ขับขี่ในขณะที่ยานพาหนะกำลังเคลื่อนที่


หากคุณเอนพนักพิงมาด้านหน้าในขณะที่พนักพิงศีรษะและเบาะที่นั่งยกขึ้นอยู่ พนักพิงศีรษะอาจกระแทกเข้ากับที่บังแดดหรือส่วนอื่นของยานพาหนะได้
การถอด/การติดตั้งกลับเข้าที่

การถอดพนักพิงศีรษะ:
-
เอนพนักพิงหลัง (2) ด้วยก้านปรับเอน (1)
-
ยกพนักพิงศีรษะให้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้
-
กดปุ่มปล่อยพนักพิงศีรษะ (3) ในขณะที่กำลังดึงพนักพิงศีรษะขึ้น (4)

ห้าม ไม่ให้ผู้ใดนั่งบนที่นั่งที่ดึงพนักพิงศีรษะออกแล้วโดยเด็ดขาด

การติดตั้งพนักพิงศีรษะกลับเข้าที่:
-
กดก้านของพนักพิงศีรษะ (2) ลงในรูโดยกดปุ่มปล่อยค้างไว้ด้วย (1)
-
เอนพนักพิงหลัง (4) ด้วยก้านปรับเอน (3)
-
ปรับพนักพิงศีรษะไปยังความสูงที่เหมาะสม

ทำให้แน่ใจว่าพนักพิงศีรษะล็อกเข้าที่ในตำแหน่งหลังจากติดตั้งกลับแล้วปรับอย่างเหมาะสมแล้ว

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ อย่าขับรถโดยที่ถอดพนักพิงศีรษะออกหรือเมื่อพนักพิงศีรษะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง
ห้ามปรับพนักพิงศีรษะขณะขับขี่