กระเป๋าพนักพิง
-
กระเป๋าพนักพิง
-
ที่ชาร์จไฟ USB
-
วัตถุที่เคลื่อนที่ไปมาในพื้นที่วางเท้าผู้ขับขี่อาจเข้าไปขัดการทำงานของคันเร่ง และก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
-
เมื่อคุณตั้งค่าที่นั่งให้กลับมาในตำแหน่งตั้งตรง ให้ประคองพนักพิงและคืนตำแหน่งอย่างช้าๆ โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีผู้อื่นอยู่ใกล้ที่นั่ง หากคืนตำแหน่งพนักพิงโดยไม่มีการประคองและควบคุม พนักพิงอาจกระเด้งไปข้างหน้าแบบฉับพลัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บกับบุคคลที่ถูกพนักพิงกระแทกได้
-
การขับขี่ยานพาหนะขณะที่พนักพิงเอนอยู่อาจนำไปสู่การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้
-
หากพนักพิงเอนหลังอยู่ในขณะเกิดอุบัติเหตุ ช่วงสะโพกของผู้นั่งอาจไถลลงมาตำแหน่งตักของเข็มขัดนิรภัย ทำให้เกิดแรงกระแทกมหาศาลต่อช่วงท้องที่ไม่มีการป้องกันได้ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บภายในร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ขับขี่ต้องแนะนำให้ผู้โดยสารปรับพนักพิงให้ตั้งตรงอยู่เสมอในขณะที่ยานพาหนะกำลังเคลื่อนที่
-
อย่าใช้เบาะรองนั่งที่ลดแรงเสียดทานระหว่างที่นั่งกับผู้โดยสาร ช่วงเอวของผู้โดยสารอาจไถลลงไปที่ส่วนตักของเข็มขัดนิรภัยระหว่างอุบัติเหตุหรือการหยุดกะทันหันได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยไม่สามารถทำงานตามปกติได้
-
ห้ามพยายามปรับที่นั่งใดก็ตามในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ การทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดการสูญเสียการควบคุม และอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต การบาดเจ็บร้ายแรง หรือทรัพย์สินเสียหายได้
-
อย่าให้มีสิ่งใดๆ เข้ามาขัดกับตำแหน่งปกติของพนักพิง การวางสิ่งของไว้กับพนักพิงหรือในรูปแบบอื่นๆ ที่จะเข้าไปขัดกับการล็อกตำแหน่งพนักพิงที่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิตในการหยุดกะทันหันหรือการชนกระแทก
-
ขับขี่โดยให้พนักพิงตั้งตรงเสมอและให้ส่วนตักของเข็มขัดนิรภัยเรียบนาบไปกับแนวเอว นี่คือตำแหน่งที่ดีที่สุดในการปกป้องคุณเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
-
เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่ไม่จำเป็นและร้ายแรงจากถุงลมนิรภัย นั่งให้ห่างจากพวงมาลัยรถมากที่สุดเสมอในขณะที่ยังควบคุมยานพาหนะได้อย่างสะดวกสบาย เราขอแนะนำให้ช่วงอกของคุณห่างจากพวงมาลัยอย่างน้อย 250 มม. (10 นิ้ว)
-
พนักพิงที่นั่งหลังต้องยึดไว้อย่างแน่นหนา ไม่เช่นนั้น ผู้โดยสารและวัตถุอาจถูกเหวี่ยงไปข้างหน้าได้ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือการเสียชีวิตได้ในกรณีที่หยุดกะทันหันหรือเกิดอุบัติเหตุ
-
กระเป๋าสัมภาระและของบรรทุกอื่นๆ ควรวางในแนวราบในพื้นที่จัดเก็บสัมภาระ หากวัตถุมีขนาดใหญ่ หนัก หรือต้องซ้อนกัน จะต้องจัดเก็บอย่างแน่นหนา ไม่ควรซ้อนสัมภาระสูงกว่าพนักพิงไม่ว่าในกรณีใดๆ การไม่ปฏิบัติตามคำเตือนเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือเสียชีวิตได้ในกรณีที่หยุดกะทัน ชนกระแทก หรือพลิกคว่ำ
-
ไม่ควรมีผู้โดยสารอยู่ในบริเวณจัดเก็บสัมภาระ หรือนั่งหรือนอนบนพนักพิงที่พับอยู่ในขณะที่ยานพาหนะกำลังเคลื่อนที่ ผู้โดยสารทุกคนต้องนั่งในที่นั่งอย่างเหมาะสมและคาดเข็มขัดนิรภัยในขณะขับขี่รถ
-
ในขณะที่รีเซ็ตพนักพิงกลับมาในตำแหน่งตั้งตรง ตรวจสอบให้แน่ใจว่ายึดอยู่อย่างแน่นหนาด้วยการผลักไปข้างหน้าและข้างหลัง
-
หลังปรับที่นั่งแล้ว ตรวจสอบเสมอว่าล็อกกับที่อย่างแน่นหนาแล้วด้วยการลองขยับที่นั่งไปข้างหน้าหรือถอยหลังโดยไม่ใช้ก้านปรับพวงมาลัย การเคลื่อนที่โดยกะทันหันหรือไม่คาดคิดของที่นั่งผู้ขับขี่อาจทำให้คุณสูญเสียการควบคุมยานพาหนะซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
-
อย่าปรับที่นั่งในขณะที่คาดเข็มขัดนิรภัยอยู่ การขยับเบาะที่นั่งไปด้านหน้าอาจทำให้เกิดแรงดันต่อช่วงท้องได้
-
ใช้ความระมัดระวังสูงสุดเพื่อไม่ให้มือหรือวัตถุติดอยู่ในกลไกที่นั่งขณะที่นั่งกำลังขยับ
-
อย่าวางที่จุดบุหรี่ไว้บนพื้นหรือที่นั่ง เมื่อคุณปรับที่นั่ง อาจเกิดแก๊สออกมาแล้วทำให้เกิดไฟได้
-
หากมีผู้โดยสารอยู่ในที่นั่งหลัง โปรดระมัดระวังในขณะปรับที่นั่งด้านหน้า
-
ใช้ความระมัดระวังสูงสุดในขณะหยิบวัตถุขนาดเล็กที่ติดอยู่ใต้ที่นั่งหรือระหว่างที่นั่งกับคอนโซลกลาง มือของคุณอาจถูกบาดหรือได้รับบาดเจ็บจากขอบมีคมของกลไกที่นั่งได้
-
ที่นั่งแบบปรับด้วยไฟฟ้าสามารถควบคุมได้ด้วยปุ่ม EV ในตำแหน่ง OFF ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยเด็กไว้ในรถยนต์โดยไม่มีผู้ดูแลโดยเด็ดขาด
-
ที่นั่งไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หยุดใช้งานเมื่อการปรับเสร็จสิ้น การทำงานเกินขนาดอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้
-
ในขณะทำงาน ที่นั่งไฟฟ้าจะใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก เพื่อป้องกันมิให้ระบบการชาร์จสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น ห้ามปรับที่นั่งแบบปรับด้วยไฟฟ้านานเกินความจำเป็นในขณะที่รถไม่ทำงาน
-
อย่าปรับสวิตช์ควบคุมที่นั่งไฟฟ้าสองตัวหรือมากกว่าพร้อมกัน การทำเช่นนั้นอาจทำให้มอเตอร์ที่นั่งไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนไฟฟ้าทำงานผิดปกติได้