ค้นหาจากชื่อหัวข้อเท่านั้น
หน้าหลัก > คุณลักษณะความปลอดภัยในยานพาหนะของคุณ > เบาะนั่ง > การปรับที่นั่งด้านหลัง

การปรับที่นั่งด้านหลัง

การปรับมุมพนักพิงด้านหลัง

การใช้งาน

  1. ดึงคันโยกปรับเอนขึ้น

  2. จับคันโยกและปรับพนักพิงให้อยู่ในตำแหน่งที่คุณต้องการ

    • ปล่อยคันโยกและทำให้แน่ใจว่าพนักพิงล็อคเข้าที่แล้ว (คันโยก ต้อง กลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อให้พนักพิงล็อกได้)

การพับพนักพิงด้านหลัง

ประเภท A
ประเภท B
  1. พนักพิงด้านซ้าย

    • สำหรับประเภท A ให้ดึงคันโยกพนักพิงขึ้น จากนั้นพับพนักพิงลง

    • สำหรับประเภท B ให้ดึงคันโยกพนักพิง (1) และ (2)

  2. พนักพิงด้านขวา

การใช้งาน

ใส่หัว/สายเข็มขัดนิรภัยในช่องเสียบ/แถบนำสายเข็มขัดนิรภัย

คำเตือน
  • ห้ามพยายามปรับที่นั่งในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่หรือมีคนนั่งอยู่บนที่นั่งด้านหลัง เนื่องจากที่นั่งอาจขยับอย่างกะทันหันและทำให้ผู้โดยสารบนที่นั่งบาดเจ็บได้

  • จุดประสงค์ของพนักพิงด้านหลังที่พับลงได้คือเพื่อให้คุณสามารถบรรทุกสิ่งของที่มีความยาวซึ่งไม่สามารถบรรทุกได้พอดีในพื้นที่บรรทุกสัมภาระ ห้ามไม่ให้ผู้โดยสารนั่งบนที่นั่งที่พับอยู่ในขณะที่ยานพาหนะกำลังเคลื่อนที่โดยเด็ดขาด ตำแหน่งนี้ไม่ใช่ตำแหน่งการนั่งที่ถูกต้อง และไม่มีเข็มขัดนิรภัยให้ใช้งานได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือการเสียชีวิตในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือการหยุดรถกะทันหัน สิ่งของที่บรรทุกบนพนักพิงที่พับลงไม่ควรมีระดับสูงเกินกว่าส่วนบนสุดของพนักพิงด้านหน้า เนื่องจากอาจทำให้สัมภาระเลื่อนไถลไปทางด้านหน้าและก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเสียหายในขณะที่มีการหยุดกะทันหัน

  • ห้ามพับที่นั่งด้านหลังหากมีผู้โดยสาร สัตว์เลี้ยง หรือกระเป๋าสัมภาระอยู่บนที่นั่งด้านหลัง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อผู้โดยสาร สัตว์เลี้ยง หรือกระเป๋าสัมภาระ

  • เมื่อคุณปรับพนักพิงกลับไปที่ตำแหน่งตั้งตรง ให้จับพนักพิงเอาไว้และปรับตำแหน่งคืนอย่างช้า ๆ หากคืนตำแหน่งพนักพิงโดยที่ไม่ได้จับไว้ เบาะพนักพิงอาจดีดตัวไปทางด้านหน้า ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บอันเกิดจากการถูกพนักพิงกระแทกใส่ได้

  • ควรยึดสัมภาระให้แน่นไว้เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้สัมภาระถูกโยนไปมาในยานพาหนะเมื่อเกิดการชนและทำให้ผู้โดยสารในยานพาหนะบาดเจ็บ ห้ามวางสิ่งของบนที่นั่งด้านหลัง เนื่องจากไม่สามารถยึดให้แน่นอย่างเหมาะสมได้และอาจไปกระแทกโดนผู้โดยสารในที่นั่งด้านหน้าเมื่อเกิดการชน

  • ตรวจดูให้แน่ใจว่าปุ่ม EV อยู่ในตำแหน่ง OFF อยู่ในเกียร์ P (จอด) และใช้เบรกมือเมื่อใดก็ตามที่มีการขนถ่ายสัมภาระขึ้นหรือลงจากรถ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้อาจทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ได้หากคันเกียร์มีการขยับไปตำแหน่งอื่นโดยไม่ตั้งใจ

  • ห้ามพยายามปรับที่นั่งในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่หรือมีคนนั่งอยู่บนที่นั่งด้านหลัง เนื่องจากที่นั่งอาจขยับอย่างกะทันหันและทำให้ผู้โดยสารบนที่นั่งบาดเจ็บได้

ระวัง
  • อย่าให้มือหรือนิ้วมือของคุณเข้าไปติดอยู่ในกลไกของที่นั่งในขณะที่ปรับที่นั่ง

  • เมื่อจะปรับพนักพิงด้านหลังกลับคืนสู่ตำแหน่งตั้งตรง อย่าลืมปรับให้เข็มขัดนิรภัยด้านหลังกลับคืนสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องด้วย การวางแนวให้เข็มขัดนิรภัยโยงผ่านตัวนำร่องเข็มขัดนิรภัยด้านหลังจะช่วยให้เข็มขัดนิรภัยไม่ไปติดอยู่ที่ด้านหลังหรือภายใต้ที่นั่ง

  • เมื่อคุณพับพนักพิงด้านหลัง ให้ใส่หัวเข็มขัดลงในกระเป๋าระหว่างพนักพิงด้านหลังกับเบาะที่นั่ง การทำเช่นนั้นจะสามารถป้องกันไม่ให้หัวเข็มขัดเสียหายเนื่องจากพนักพิงด้านหลังได้